มอก.

มอก.

     มอก. คือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (Thai Industrial Standard) หมายถึงข้อกำหนดทางวิชาการที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)ได้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ผลิตในการผลิตสินค้าให้มีคุณภาพในระดับที่เหมาะสมกับการใช้งานมากที่สุดโดยจัดทำออกมาเป็นเอกสาร และจัดพิมพ์เป็นเล่ม ภายในมอก.แต่ละเล่มประกอบด้วยเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์นั้นๆ เช่น เกณฑ์ทางเทคนิค คุณสมบัติที่สำคัญ ประสิทธิภาพของการนำไปใช้งาน คุณภาพของวัตถุที่นำมาผลิต และวิธีการทดสอบ เป็นต้น ปัจจุบันสินค้าที่สมอ. กำหนดเป็นมาตรฐานปัจจุบันมีอยู่กว่า 2,000 เรื่อง ครอบคลุมสินค้าที่เราใช้ อยู่ในชีวิตประจำวันหลายๆ ประเภท ได้แก่ ประเภทอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานพาหนะ สิ่งทอ วัสดุก่อสร้าง เป็นต้น มอก. มีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

 

ประโยชน์ต่อผู้ผลิต
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
- ลดราคาช่วยให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอยจ่าย ลดเครื่องจักร ลดขั้นตอนการทำงานซ้ำซ้อน
- ทำให้สินค้ามีคุณภาพดีขึ้น และมีราคาถูกลง
- เพิ่มโอกาสทางการค้า ในการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานราชการที่มีการกำหนดให้สินค้านั้นๆต้องได้รับมอก.

 

ประโยชน์ผู้บริโภค
- ช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า
- สร้างความปลอดภัยในการนำไปใช้
- ในกรณีที่ชำรุด ก็สามารถหาอะไหล่ได้ง่าย เพราะสินค้ามีมาตรฐานเดียวกัน ใช้ทดแทนกันได้
- วิธีการบำรุงรักษาใกล้เคียงกัน ไม่ต้องหัดใช้สินค้าใหม่ทุกครั้งที่ซื้อ ได้สินค้าคุณภาพดีขึ้นในราคาที่เป็นธรรมคุ้มค่ากับการใช้งาน

ขั้นตอนการดำเนินงานสำหรับผู้ผลิตในประเทศ
1. ขออนุญาตผลิตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
2. จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการตรวจรับรอง
3. จัดเตรียมตัวอย่างเพื่อการทดสอบ (สมอ. จะกำหนด ห้อง Lab. ที่ใช้ทดสอบ สามารถเช็คได้จากเว็บไซต์ของสมอ.)
4. เมื่อตัวอย่างผ่านการทดสอบ ให้จัดเตรียมการตรวจโรงงานครั้งแรก
5. เมื่อผ่านขั้นตอนการตรวจโรงงานครั้งแรกเรียบร้อยแล้ว จึงจะได้รับใบอนุญาติให้ทำการผลิตและใช้ตรา มอก. บนผลิตภัณฑ์
6. ใบอนุญาติการผลิตจะมีผลตลอดไป จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ในเนื้อหามาตรฐานนั้นๆ และเจ้าหน้าที่ สมอ. จะแจ้งให้ผู้ผลิตทราบล่วงหน้า
7. เจ้าหน้าที่ สมอ. จะมีการตรวจติดตามผลโรงงานผลิต เริ่มจากปีถัดไป ปีละครั้ง
8. ผู้ผลิตต้องรับผิดชอบในส่วนของค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าทดสอบผลิตภัณฑ์, ใบอนุญาติการผลิต, ค่าเดินทาง, ค่าตรวจโรงงานผลิตครั้งแรก, ค่าตรวจติดตามผลโรงงานผลิตในปีถัดไป
9. ผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบในทางกฏหมายของสินค้านั้นๆ

หมายเหตุ ขั้นตอนที่ 3 และ 4 อาจมีการสลับแผนงานกัน ขึ้นอยู่กับจนท.ของสมอ. ว่าจะเริ่มตรวจขั้นตอนใดก่อน

วิธีการตรวจประเมิน
ยื่นคำขอลงทะเบียน สามารถดาวน์โหลดที่เว็บไซต์ของสมอ. หากจนท.ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะทำการยืนยันขอบข่าย และประมาณค่าใช้จ่ายในการตรวจมาให้ 
สมอ. จะแต่งตั้งคณะผู้ตรวจประเมินที่มีคุณสมบัติ มีความรู้ตรงตามสโคปงานของเรา หลังจากที่ทีมตรวจรับเอกสารไปแล้ว ก็จะต้องมีการเปิดประชุม นำเสนอต่อคณะทบทวนการรับรองระบบอีกทีนึง 
- เมื่อคณะทบทวนตรวจรับรองเอกสารแล้ว ถึงจะมีการนัดตรวจบริษัท/โรงงาน เพื่อดูกระบวนการการทำงานของเราอีกทีนึง

 

การตรวจติดตาม
ตรวจเหมือนกับ CB ทั่วไป มีการตรวจเยี่ยมทุกๆ 1 ปี (สุ่มตรวจระบบ) และรีเซอร์ทุกๆ 3 ปี (ตรวจระบบทั้งหมด)
นอกจากผลิตภันฑ์ต้องผ่านการทดสอบแล้ว สถานที่ผลิต กระบวนการการผลิต จะต้องถูกตรวจสอบด้วย ซึ่งจุดประสงค์ของการตรวจสอบ เพื่อตรวจระบบการควบคุมคุณภาพ ซึ่งเริ่มตั้งแต่
  1. การตรวจรับวัตถุดิบ > การจัดเก็บวัตถุดิบ > ขั้นตอนการผลิต > การควบคุมการผลิต > การตรวจคุณภาพในกระบวนการการผลิต > การตรวจคุณภาพก่อนการส่งมอบ > การบรรจุภัณฑ์
  2. การอบรมบุคลากร
  3. การควบคุมเครื่องมือวัดและทดสอบที่ใช้ในกระบวนการผลิต

รายชื่อมาตรฐานมอก.ต่างๆ ดังนี้

 

• มอก. 63-2560 ตู้เหล็กเก็บเอกสารแบบลื้นชัก
Filling office steel cabinets

 

• มอก. 353-2560 ตู้เหล็กเก็บเอกสารแบบประตู
Door-type office steel cabinets

 

• มอก. 386-2531 เทปใช้ในงานไฟฟ้า : พลาสติไซซ์โพลิไวนิลคลอไรด์
Pressure-sensitive adhesive tape for electrical purposes: Plasticized polyvinyl chloride

 

• มอก. 1128-2562 แผ่นเหล็กมุงหลังคา
Roofing steel sheet

 

• มอก. 1136-2559 ฟิล์มยืดหุ้มห่ออาหาร
Stretch cling film for food

 

• มอก. 1284-2560 ตู้เหล็กเก็บสัมภาระ
Steel lockers

 

• มอก. 1494-2541 โต๊ะเรียน
Educational institution furniture : Desks

 

• มอก. 1495-2541 เก้าอี้เรียน
Educational institution furniture : Chairs

 

• มอก. 2767-2559 หม้อหุงข้าวไฟฟ้า เฉพาะด้านสมรรถนะในการหุงข้าวและการอุ่นข้าว
Electric rice-cookers - Performance requirements

 

• มอก. 2424-2562 หน้ากากอนามัยใช้ครั้งเดียว
Single-use hygienic face masks

 

• มอก. 2199-2547 อุปกรณ์ปกป้องทางเดินหายใจ : ชนิดกรองอนุภาค
Respiratory protective devices : Particulate air purifying

 

• มอก. 1056 เล่ม 1-2556 ถุงมือสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางการแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว เล่ม 1 เกณฑ์กำหนดสำหรับถุงมือที่ทำจากน้ำยางหรือสารละลายยาง
Single-use medical examination gloves Part 1 : Specification for gloves made from rubber latex or rubber solution

 

รับทำมอก.ภายในประเทศ และมอก.นำเข้า

สนใจสอบถามมอก.เล่มอื่นๆ 

 

ติดต่อเจ้าหน้าที่

โทร. 095-1614714 สุ / 097-1288284 หมู

Line : consultiso

Email : consult2514@hotmail.com

แบบฟอร์มเสนอราคา

คำอธิบายแบบฟอร์ม
Visitors: 75,632