ISO 14001:2015

 

ISO 14001:2015

     ISO 14001 คือ มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System : EMS) เป็นการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกับการพัฒนาธุรกิจและเน้นเรื่องของการป้องกันมลพิษและรักษาสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพื่อช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงลดต้นทุนการผลิตในธุรกิจ

 

     ISO 14001 มีแนวโน้มที่จะมีผลต่อการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในองค์กรการผลิตทุกแห่งในโลก เนื่่องจากได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ผลของ ISO 14001 ยังมีไปถึงเขตอุตสาหกรรมด้วย องค์กรใดก็ตามที่มีผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกิจกรรมต่างๆ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องรับรู้ถึงมาตรฐาน ISO 14001

ISO 14001 มีประโยชน์อย่างไรบ้าง...?

1.ลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ ลดขยะ ลดของเสีย ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน

2.ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำบัด และแก้ไขปัญหาให้น้อยลง

3.องค์กรเกิดภาพลักษณ์ที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนรอบข้าง

4.เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน เกิดความได้เปรียบทางการค้า

5.เพิ่มโอกาสในด้านการค้า และการเจรจาต่อรองกับคู่ค้าที่ต้องการทำธุรกิจกับองค์กรที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน

 

หลักการสำคัญของ ISO 14001
1. การกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม (Environmental Policy) : ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร โดยจะต้องกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับสภาพ ขนาดและประเภทธุรกิจขององค์กร ซึ่งนโยบายสิ่งแวดล้อมต้องแสดงความมุ่งมั่นต่อการป้องกันมลพิษหรือลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ

2. การวางแผน (Planning) : วางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับนโยบายสิ่งแวดล้อมที่องค์กรตั้งขึ้น โดยกำหนดระเบียบปฏิบัติงานระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม กำหนดระเบียบปฏิบัติงานพิจารณาข้อกำหนดในกฎหมายและระเบียบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับนโยบาย รวมทั้งความมุ่งมั่นที่จะป้องกันและลดมลพิษจากการระบุลักษณะปัญหาสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนงานสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยแสดงระยะเวลาของแผนฯ ผู้รับผิดชอบและดัชนีวัดประสิทธิภาพอย่างชัดเจน

3. การนำไปปฏิบัติและการดำเนินการ (Implementation & Operation) : กำหนดโครงสร้าง และบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ชัดเจน เช่น ผู้รับผิดชอบด้านกฎหมาย ผู้รับผิดชอบภาวะฉุกเฉิน ตลอดจนผู้แทนฝ่ายบริหารด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ เพื่อที่จะให้แผนงานสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประเมินความต้องการการฝึกอบรม แผนการฝึกอบรม การประเมินผล การฝึกอบรม ฯลฯ เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่บุคลากรในองค์กร เพื่อที่จะควบคุมการปฏิบัติงานให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างน้อยที่สุด

4. การตรวจสอบและการปฏิบัติการแก้ไข (Checking & Corrective Action) : การติดตามและวัดผลการดำเนินงาน โดยเปรียบเทียบกับแผนที่วางเอาไว้ แจกแจงสิ่งต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามแผน และทำการตรวจประเมินการจัดการสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ เพื่อยืนยันความถูกต้องสมบูรณ์ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้

5. การทบทวนและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Management Review & Continual Improvement) : การทบทวนเพื่อรับทราบผลการจัดการสิ่งแวดล้อมตามระยะเวลาที่เหมาะสม การเปลี่ยนแปลงนโยบายขององค์กรให้ถูกต้อง ทันต่อเหตุการณ์ และเการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

แบบฟอร์มเสนอราคา

คำอธิบายแบบฟอร์ม
Visitors: 76,676